เพราะเวลาที่ฝนตกย่อมสัมพันธ์กับอารมณ์ความรู้สึก
ถ้าฝนตกแล้วใจเรามีความยินดี ความคิดถึง บนพื้นฐานของความสุขก็น่าจะดีสินะ แต่ความเป็นจริงแล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หลายๆ คน ตกอยู่ในห้วงอารมณ์ “เศร้า” เพียงแค่กระพริบตา หยดน้ำตาก็ไหลลงมาโดยไม่รู้ตัว และอาจจมอยู่กับอารมณ์เศร้าอยู่นานเลยทีเดียว งานวิจัยเชิงจิตวิทยาของ Philippe Verduyn และ Saskia Lavrijsen จากมหาวิทยาลัย Leuven ในเบลเยียม อธิบายผลวิจัยจากการทดลองเฝ้าติดตามพฤติกรรม และการแสดงออกทางอารมณ์ของนักเรียนในโรงเรียนเบลเยียม ไว้ว่า ความเศร้า (Sadness) จัดการยากที่สุด ใช้เวลานานที่สุด ในขณะที่ความรู้สึกอื่นๆ เช่น ดีใจ ตื่นเต้น เขินอาย อยู่กับเราเพียงชั่วครู่แล้วก็จากไป
ความยืดหยุ่นในการจัดการอารมณ์ หรือ Resilience Quotient จะเป็นอีกหนึ่งทางออกสำหรับผู้ที่ตกอยู่ในอารมณ์เศร้า หดหู่ โกรธ หรือจมอยู่กับปัญหา
“การฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤต เป็นศักยภาพทางอารมณ์และจิตใจในการปรับใจและพื้น ตัวภายหลังที่พบกับเหตุการณ์วิกฤตหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความยากลำบาก เป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ช่วยให้บุคคลผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข เป็นกระบวนการปรับใจและฟื้นตัวเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยากลำบากหรือวิกฤตได้สำเร็จ แสดงให้เห็นถึงการเอาชนะปัญหาอุปสรรคของชีวิตโดยใช้พลังสุขภาพจิตที่ดีที่เข้มแข็ง” อัจฉรา สุขารมณ์ อธิบายถึงภาวะทางอารมณ์ จากงานวิจัยเรื่องการฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤต
ความเจ็บปวด ความเศร้า เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องพบเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ก็พอๆ กับความสุข ความสนุก ที่เข้ามาทำให้จิตใจเราเบิกบานและยิ้มแย้มไปได้ทั้งวัน ผู้เขียนเชื่ออย่างหนึ่งว่า ธรรมชาติไม่เคยปล่อยให้มนุษย์อย่างเราๆ เริงร่ากับความสุขได้อย่างยาวนาน โดยที่ไม่เรียนรู้และยอมรับความเศร้า เมื่อไหร่ก็ตามที่เราปล่อยใจหรือตักตวงรับเอาแต่ความสุขเพียงอย่างเดียว เมื่อนั้นความทุกข์ซึ่งเป็นความรู้สึกด้านตรงข้าม จะเข้าเร่งงานเราอย่างทันทีโดยไร้ความปราณี
ทำให้ตัวเรา “รู้สึกกลางๆ” เมื่อไหร่ที่มีความสุข ให้รู้ว่าความทุกข์มีอยู่จริง และเมื่อไหร่ที่พบเจอกับความทุกข์ ก็ต้องอนุญาตให้ความรู้สึกนั้นอยู่กับเราเพียงไม่นาน เพราะที่สุดแล้ว หลังฝนตก ฟ้าก็จะสดใสเสมอ พิจารณาทุกความรู้สึกที่เข้ามา โดยทำความเข้าใจธรรมชาติของชีวิต ตามหลักของไตรลักษณ์ที่ว่า “เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป” เพราะไม่มีสิ่งใดๆ จะอยู่กับเราตลอดไป ทุกสิ่งล้วนถูกกำหนดด้วยระยะเวลา ไม่วาจะเร็วหรือช้า ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจะเบาบาง เจือจาง และหายไป
ฟากฝั่งทฤษฎี Gail M. Wagnild & Heather M. Young ได้แบ่งความสามารถในการฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤตออกเป็น 5 องค์ประกอบ คือ
1. ความสงบทางใจ (Equanimity) การมีความสมดุลในจิตใจ
2. ความอุตสาหะ (Perseverance) การที่มีความพยายามที่จะสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น
3. ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-reliance) การมีความมั่นใจในความสามารถของ ตนเองในการแก้ไขปัญหา
4. การตระหนักถึงคุณค่าและความหมายในชีวิต (Meaningfulness)
5. การดำรงชีวิตโดยรู้ถึงการมีเส้นทางชีวิตของแต่ละฝ่าย ของใครของคนนั้น (Existential aloneness)
ความสามารถในการฟื้นฟูจิตใจนั้น เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยประสบการณ์และการคิดเชิงบวก มองชีวิตในแง่บวกและรักตัวเองมากพอ เพราะเมื่อเรามีทัศนคติที่ดีต่อตัวเองแล้ว เราก็จะไม่จมจ่ออยู่กับความทุกข์ใจ ความโศกเศร้านาน
ความยืดหยุ่นในการจัดการอารมณ์ หรือ Resilience Quotient จะเป็นอีกหนึ่งทางออกสำหรับผู้ที่ตกอยู่ในอารมณ์เศร้า หดหู่ โกรธ หรือจมอยู่กับปัญหา
“การฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤต เป็นศักยภาพทางอารมณ์และจิตใจในการปรับใจและพื้น ตัวภายหลังที่พบกับเหตุการณ์วิกฤตหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความยากลำบาก เป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ช่วยให้บุคคลผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข เป็นกระบวนการปรับใจและฟื้นตัวเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยากลำบากหรือวิกฤตได้สำเร็จ แสดงให้เห็นถึงการเอาชนะปัญหาอุปสรรคของชีวิตโดยใช้พลังสุขภาพจิตที่ดีที่เข้มแข็ง” อัจฉรา สุขารมณ์ อธิบายถึงภาวะทางอารมณ์ จากงานวิจัยเรื่องการฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤต
ความเจ็บปวด ความเศร้า เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องพบเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ก็พอๆ กับความสุข ความสนุก ที่เข้ามาทำให้จิตใจเราเบิกบานและยิ้มแย้มไปได้ทั้งวัน ผู้เขียนเชื่ออย่างหนึ่งว่า ธรรมชาติไม่เคยปล่อยให้มนุษย์อย่างเราๆ เริงร่ากับความสุขได้อย่างยาวนาน โดยที่ไม่เรียนรู้และยอมรับความเศร้า เมื่อไหร่ก็ตามที่เราปล่อยใจหรือตักตวงรับเอาแต่ความสุขเพียงอย่างเดียว เมื่อนั้นความทุกข์ซึ่งเป็นความรู้สึกด้านตรงข้าม จะเข้าเร่งงานเราอย่างทันทีโดยไร้ความปราณี
ทำให้ตัวเรา “รู้สึกกลางๆ” เมื่อไหร่ที่มีความสุข ให้รู้ว่าความทุกข์มีอยู่จริง และเมื่อไหร่ที่พบเจอกับความทุกข์ ก็ต้องอนุญาตให้ความรู้สึกนั้นอยู่กับเราเพียงไม่นาน เพราะที่สุดแล้ว หลังฝนตก ฟ้าก็จะสดใสเสมอ พิจารณาทุกความรู้สึกที่เข้ามา โดยทำความเข้าใจธรรมชาติของชีวิต ตามหลักของไตรลักษณ์ที่ว่า “เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป” เพราะไม่มีสิ่งใดๆ จะอยู่กับเราตลอดไป ทุกสิ่งล้วนถูกกำหนดด้วยระยะเวลา ไม่วาจะเร็วหรือช้า ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจะเบาบาง เจือจาง และหายไป
ฟากฝั่งทฤษฎี Gail M. Wagnild & Heather M. Young ได้แบ่งความสามารถในการฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤตออกเป็น 5 องค์ประกอบ คือ
1. ความสงบทางใจ (Equanimity) การมีความสมดุลในจิตใจ
2. ความอุตสาหะ (Perseverance) การที่มีความพยายามที่จะสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น
3. ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-reliance) การมีความมั่นใจในความสามารถของ ตนเองในการแก้ไขปัญหา
4. การตระหนักถึงคุณค่าและความหมายในชีวิต (Meaningfulness)
5. การดำรงชีวิตโดยรู้ถึงการมีเส้นทางชีวิตของแต่ละฝ่าย ของใครของคนนั้น (Existential aloneness)
ความสามารถในการฟื้นฟูจิตใจนั้น เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยประสบการณ์และการคิดเชิงบวก มองชีวิตในแง่บวกและรักตัวเองมากพอ เพราะเมื่อเรามีทัศนคติที่ดีต่อตัวเองแล้ว เราก็จะไม่จมจ่ออยู่กับความทุกข์ใจ ความโศกเศร้านาน
ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ