![]() |
![]() ![]() |
||
หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
วิธีปฏิบัติขณะนอนลง เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดความยืดหยุ่นของข้อเข่าขณะท่านนอนเหยียดขา ให้ใช้ผ้าขนหนูม้วนเป็นหมอนเพื่อรองใต้ข้อเท้าของท่านซึ่งจะทำให้ท่านรู้สึกผ่อนคลายบริเวณต้นขา![]() วิธีปฏิบัติขณะลุกขึ้นนั่ง สำหรับ 2-3 ครั้งแรกขณะลุกขึ้นนั่งแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดอาจช่วยจับหรือช่วยพยุงขาของท่าน เพื่อช่วยให้ท่านลุกขึ้นนั่ง แต่หลังจากนั้นก็จะแนะนำให้ท่านปฏิบัติด้วยตัวท่านเอง โดยให้นั่งชิดขอบเตียงและวางเท้าของท่านไว้บนตั่งพักเท้า จากนั้นท่านจะถูกขอร้องให้เหยียดขาข้างที่เข้ารับการผ่าตัดขึ้นครู่หนึ่ง จากนั้นวางเท้าของท่านไว้บนตั่งพักเท้าสลับไปมา ![]() วิธีปฏิบัติขณะยืนขึ้นโดยได้รับความช่วยเหลือ หลังจากการผ่าตัดระยะหนึ่งแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดอาจช่วยพยุงให้ท่านยืนขึ้นโดยอาจผูกข้อมือของท่านไว้กับเครื่องช่วยพยุง เพื่อป้องกันการล้มในกรณีที่ท่านเกิดอาการวิงเวียนศรีษะและท่านอาจถูกพันด้วยเฝือกอ่อนรอบๆขาข้างที่รับการผ่าตัด เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวขณะที่ท่านยืน ![]() การใช้เครื่องช่วยพยุงขา 4 ขา เมื่อท่านสามารถลุกขึ้นยืนได้ด้วยตนเ อง ในระยะแรกท่านอาจใช้เครื่องช่วยพยุงสี่ขา (วอกเกอร์) เพื่อช่วยให้เกิดความสมดุลขณะเคลื่อนไหว ในเบื้องต้นขณะที่ท่านฝึกเดินท่านจะได้รับการบอกกล่าวให้ลงน้ำหนักที่เท้าข้างที่ได้เข้ารับการผ่าตัดเพียงเล็กน้อย เมื่อข้อเข่าข้างที่ได้รับการผ่าตัดแข็งแรงขึ้นแพทย์ก็จะบอกให้ท่านลงน้ำหนักที่เท้าข้างนั้นมากขึ้น ขั้นที่ 1 มือทั้งสองข้างยกเครื่องช่วยพยุง 4ขา (วอกเกอร์) ห่างออกไปยังทิศทางที่จะเดินไปข้างหน้าประมาณ 2-3 นิ้วและตรวจสอบให้มั่นใจให้ขาทั้ง 4 ของเครื่องพยุงแนบกับพื้นทุกครั้ง ![]() ขั้นที่ 2 โน้มตัวไปข้างหน้าและปล่อยให้เครื่องพยุง 4 ขา(วอกเกอร์) รับน้ำหนักตัวของท่านก้าวเท้าข้างที่รับการผ่าตัดไปข้างหน้าอย่างระมัดระวัง อย่าให้เท้าของท่านพันกับเท้าของเครื่องช่วยพยุง ![]() ขั้นที่ 3 เกาะเครื่องช่วยพยุง 4 ขา (วอกเกอร์) ให้แน่นด้วยมือทั้งสองข้างจากนั้นก้าวไปข้างหน้าโดยใช้เท้าข้างที่ไม่ได้รับการผ่าตัด ![]() การเดินโดยใช้ไม้เท้า เมื่อเข่าและกล้ามเนื้อขาของท่านแข็งแรงขึ้น แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดก็จะแนะนำให้ท่านเปลี่ยนจากการใช้เครื่องช่วยพยุง 4 ขาเป็นไม้ยันรักแร้นักกายภาพบำบัดจะให้ข้อมูลและแนวทางเกี่ยวกับระยะทางที่ท่านควรจะต้องฝึกเดินเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ขั้นที่ 1 จับไม้ยันรักแร้ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและมั่นคง ใช้กำลังจากแขนของท่านพยุงไม้ยันรักแร้ ไม่ควรใช้กำลังจากบริเวณแขนหนีบ ![]() ขั้นที่ 2 ก้าวเท้าข้างที่ผ่านการผ่าตัดในจังหวะเดียวกัน กับการเคลื่อนไม้ยันรักแร้ทั้งสองข้างไปข้างหน้า ![]() ขั้นที่ 3 เงยหน้าและมองไปข้างหน้า เริ่มก้าวเท้าที่ผ่านการผ่าตัดโดยใช้ไม้ยันรักแร้ โดยตามด้วยเท้าข้างที่ไม่ได้รับการผ่าตัด ![]() การเดินโดยใช้ไม้เท้า วางไม้เท้าทั้งสองข้างให้ตรงและมั่นคงเพื่อรองรับน้ำหนักของร่างกาย ยกเท้าข้างที่ไม่ได้รับการผ่าตัดขึ้นและวางไปบนบันไดขั้นแรก โน้มตัวไปข้างหน้าโดยใช้ไม้เท้าทั้งสองข้างและเท้าข้างที่ไม่ได้รับการผ่าตัดเป็นเครื่องช่วยรับน้ำหนักตัว จากนั้นยกเท้าข้างที่ได้รับการผ่าตัดและวางไว้ที่ขั้นบันไดคุณอาจต้องการคนช่วยท่านขณะขึ้นบันไดใน 2-3 ครั้งแรกๆ จนกระทั้งท่านรู้สึกคุ้นเคยกับการขึ้นบันได การเดินลงบันไดโดยใช้ไม้ยันรักแร้ การก้าวเท้าข้างที่ผ่านการผ่าตัดในจังหวะเดียวกับการเคลื่อนไม้เท้าทั้งสองข้างลงไปบนบันไดขั้นที่อยู่ต่ำลงไป ใช้ไม้เท้าทั้งสองข้างเพื่อให้เกิดความสมดุลและรองรับน้ำหนักตัวขณะก้าวลงบันได ซึ่งในระยะแรกๆท่านอาจต้องการผู้ช่วย |
|
|||
![]() หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
||||
©2555, โรงพยาบาลองค์การบริหาร่ส่วนจังหวัดภูเก็ต 18, 20 ถ.อนุภาษภูเก็ตการ ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์: 076 358888 โทรสาร: 076 354817 สายด่วน: 1131 |